1. ล้อ
ส่วนนี้เป็นส่วนที่อ่อนแอที่สุดที่จะเสียหายในการขนส่ง สายการบินทั่วไปจะปฏิเสธความรับผิดชอบสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับล้อ และผู้ผลิตหลายรายมักยกเว้นล้อในข้อรับประกันของบริษัท ล้อที่ดีที่สุดควรเป็นล้อยางทั้งลูกชนิดที่เป็นล้อแบบหรือเป็นลูกกลม ที่มีตลับลูกปืน ล้อควรฝังอยู่ภายในกระเป๋า โดยเฉพาะกระเป๋าที่ไว้ใต้เครื่องบินเพราะจะป้องกันการเสียของล้อได้ สำหรับกระเป๋าที่นำติดตัวขึ้นเครื่องบิน ควรดูขนาดให้ถูกตามกฎเกณฑ์ของสายการบิน
2. หูหิ้ว
หูหิ้วแบบยืดหดควรติดตั้งภายในกระเป๋าได้เป็นดี หรือแบบพับแนบตัวกระเป๋าอัตโนมัติ เพื่อป้องกันความเสียหายของเสาคันชัก แม้ว่าคันชักที่ติดตั้งภายนอกจะทำให้มีพื้นที่เก็บสัมภาระด้านในมากขึ้นก็ตาม เพราะคันชักมักจะเสียหาย จากแรงกระแทกจนทำให้ยืดหดคันชักไม่ได้ แต่ในกรณีที่เป็นกระเป๋าหิ้วติดตัวก็ไม่จำเป็นต้องให้คันชักมีเสาอยู่ด้านในก็ได้เพราะความเสี่ยงจากการเสียหายมีน้อยกว่ามาก
3. Denier (หน่วยวัดความแข็งแรงของผ้า)
Denier เป็นหน่วยของการวัดขนาดเส้นใยที่ใช้ในการทอผ้า dinier ยิ่งมากจะทำให้ผ้าหนักขึ้น สำหรับวัสดุที่นำมาทอเป็นผ้าก็ให้ความแข็งแรงต่างกันด้วย เช่น polyester 1800 denier แข็งแรงกว่า Polyester 1200 denier แต่แข็งแรงน้อยกว่า ballistic nylon 1050 denier โดยทั่วไปตามสายการบินจะไม่ยอมรับความเสียหายกับกระเป๋าเดินทางที่ทำด้วยผ้า 600-700 denier
4. การรับประกัน
กระเป๋าทุกยี่ห้อจะรับประกันก็ต่อเมื่อมีความเสียหายที่เกิดจากการผลิตเท่านั้น เช่น ซิปผิดปกติ รอยเย็บเบี้ยว หูลากหลุดหรือน็อตหลุด การรับประกันส่วนใหญ่จะเป็นของผู้ผลิต ไม่ใช่เป็นของร้านที่ขายดังนั้นไม่ควรไปเชื่อกับการรับประกันของร้านมากนัก
5. การซื้อกระเป๋าเป็นการลงทุนไม่ใช่ความสิ้นเปลือง
การคุ้มทุนในการลงทุนซื้อกระเป๋าขึ้นอยู่กับอายุของการใช้งานกระเป๋า ถ้าคุณจ่ายเงินสองเท่าเพื่อซื้อกระเป๋าที่มีอายุใช้งานนานขึ้น 4 ปี อย่าลืม ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมด้วย
6. ไม่ต้องกังวลว่ากระเป๋าใบใหญ่กว่าจะหนักกว่า
สิ่งของที่คุณจะบรรจุลงในกระเป๋าอาจมีน้ำหนักประมาณ 20-30 กก. แต่น้ำหนักกระเป๋าที่ใหญ่เล็กต่างกัน 4-6 นิ้ว อาจมีน้ำหนักต่างกันเพียงครึ่งกิโลเท่านั้น และคุณจะรู้ว่าถ้ากระเป๋าไม่พอคุณต้องซื้อกระเป๋าอีกใบที่น้ำหนักอย่างต่ำก็ประมาณ 3-4 กก.
7. กระเป๋าใหญ่ก็ไม่ใช่ว่าดีเสมอไป
คนทั่วไปจะบรรจุสิ่งของลงในกระเป๋าขนาด 26 นิ้วได้พอดี ดังนั้นก็ไม่ควรใช้กระเป๋าขนาดใหญ่กว่านี้ โดยเฉพาะถ้าคุณมีปัญหาเรื่องการยกของหนัก เช่น ปวดหลัง หรือปวดแขน
8. อย่าไปยึดติดกับยี่ห้อ
คนทั่วไปจะคุ้นเคยกับชื่อ Samsonite และ american tourister เพราะเป็นเจ้าแรก ๆ ที่ขายมานาน แต่ก็ยังมีหลายยี่ห้อที่คุณภาพก็ใช้ได้ เช่น travelpro eminent echolac delsey หรือแม้แต่ Blue light, Valentino, Miracle, Dandy ลองเลือกการใช้งานต่าง ๆ ให้ดีก่อนตัดสินใจควักกระเป๋าซื้อ
9. ซื้อกระเป๋ากับร้านที่มีความรู้ด้านกระเป๋า
เพราะกระเป๋าเดินทางเดี๋ยวนี้ไม่ใช่มีหน้าที่แค่บรรจุสัมภาระเท่านั้น อย่าไปกลัวที่จะถามคนขายเกี่ยวกับความทนทาน หน้าที่การทำงานต่าง ๆ การบริการหลังการขาย
http://www.geocities.com/winwos02/10tips.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น